วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรม (Innovation)

align="left">นวัตกรรม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนมากจะเป็นแบบ Incremental คือค่อยๆ เปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเป็นการปรับปรุงระบบหรือกระบวนการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น วินโดวส์ 98 ไป วินโดวส์ 2000 เป็นต้น มากกว่าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง (radical)

จากการศึกษาของ Hollander’s famous study of Du Pont rayon plants พบว่าการเปลี่ยนแปลงแบบ incremental จะก่อให้เกิดประโยชน์สะสมทวีในระยะยาวมากกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วฉับพลัน


ปัจจุบัน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กร (Keep the Pace) ซึ่งทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่หรือบริการใหม่ๆ ขึ้น เกิดการขยายตัวในทางธุรกิจมากขึ้น มีการลงทุนมากขึ้น ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ การเปลี่ยนแปลงแบบ Incremental นี้เปรียบเสมือนกับการเสริมรากฐานของการเรียนรู้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น เกิดพัฒนาการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถเพิ่ม Productivity (ผลิตภาพ) ขององค์กรได้อย่างดี

การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็น Platform หรือ Robust เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental เกิดผลดีต่อองค์กรได้ เพราะหากได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น platform หรือเป็นตระกูล (family) แล้ว การคิดค้นนวัตกรรมทีละเล็กทีละน้อยจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่อยู่ในตระกูลนั้น ซึ่งเป็นการยืดระยะเวลาของช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การออกแบบ Robust design ของ Boeing airlines และเครื่องยนต์ Rolls-Royce jet แม้แต่การลงทุนในอุตสาหกรรม Semiconductor ก็มีออกแบบและผลิตอุปกรณ์ที่เป็นตระกูล โดยเฉพาะ ไมโครโพรเซสเซอร์ของ คอมพิวเตอร์จะเห็นได้ชัดเจน เช่น Intel มี 286, 386, 486, Pentium, Celeron, Centrino, Duo core เป็นต้น ชัดเจนมากที่สุดคือ Pentium 1-4 และ AMD เช่น Athlon และ Duron เป็นต้น

Brand Portfolio คือ การทำแบรนด์องค์กรหรือแบรนด์ทั้งตระกูลเลย เป็นการทำยี่ห้อมากกว่า การทำจุดเด่นให้สินค้าตัวใดตัวหนึ่ง เช่น อินเทล มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีภาพความน่าเชื่อถือเหนี่ยวแน่น ไม่ว่าอินเทล ออกสินค้าใดมาใน Portfolio ของตนก็จะได้รับ แบรนด์นี้ไปเช่นกัน นั่นคือเรื่อง Brand Portfolio เป็นการทำ แบรนด์ ทั้งตระกูล

ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคืด Walkman ที่เป็นวิทยุขนาดพกพา เริ่มพัฒนามาจากระบบวิทยุและเทป และได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็น minidisk, CD, DVD และเครื่องเล่น MP 3 ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีการพัฒนากระบวนการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาจากความคิดที่เป็น Platform ต้นแบบ จะเห็นว่าในวงการแฟชั่นก็เป็นการทำ Brand Portfolio เช่นกัน

นวัตกรรมคือกระบวนการแห่ง Knowledge-based

นวัตกรรมเป็นการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน ความรู้เหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น อาจเป็นความรู้ทางเทคนิคที่มีอยู่แล้ว โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้จากการค้นคว้าวิจัยต่างๆ เช่น การวิจัยตลาด พฤติกรรมของคู่แข่ง ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมา หรือแม้แต่ความรู้ที่เป็น Tacit knowledge ที่ยังไม่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ เป็นต้น

Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่มนุษย์ไม่สามารถถ่ายทอดให้แก่กันได้ เป็นทักษะเฉพาะตัว เช่น การว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน หรือทักษะทางวิศวกรรมหรือเชิงช่าง หรือแม้แต่ทักษะในการสร้างภาพให้สตรีชื่นชม เป็นต้น แต่มนุษย์อาจจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะดังกล่าวให้แก่กันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นไม่สามารถถ่ายทอดกันออกมาเป็นตำราให้เรียนรู้ถ่ายทอดทั้งหมดได้ Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่มนุษย์สามารถถ่ายถอดให้แก่กันได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น คู่มือการใช้เครื่องเสียง ตำราวิชาบัญชี เป็นต้น

กระบวนการบูรณาการความรู้ที่แตกต่างกันเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของนวัตกรรมนั้น แน่นอนว่าย่อมมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น นั่นคือเราไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังพยายามทำ สุดท้ายจะออกมาเป็นเช่นไรและเราจะใช้วิธีหรือกระบวนการใดที่จะทำให้ถึงจุดนั้น ฉะนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการนวัตกรรมซึ่งก็คือการเปลี่ยนความไม่แน่นอนให้เป็นความรู้ โดยการใช้ทรัพยากร (Committing resources) เพื่อลดความไม่แน่นอนให้น้อยที่สุด ที่จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างกัน ดังแสดงในรูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึง “หากมีการเพิ่ม resource commitment จะทำให้ลดความไม่แน่นอนลงได้”

แม้ว่าการพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental เป็นการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น ทั้งๆ ที่รู้ดีว่าจะเริ่มต้นพัฒนาที่ใด อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังพัฒนานั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ จะมีผลกระทบกับสินค้าหรือบริการเดิมหรือไม่ นั่นคือความเสี่ยง แต่เมื่อหันมาพิจารณาหากเราต้องการที่จะพัฒนานวัตกรรมให้เป็นแบบ Radical แน่นอนว่ายิ่งจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเราก็ยังไม่รู้ว่าจะพัฒนาอะไรและจะมีผลกระทบอย่างไร ดังนั้นจึงเห็นว่าทำไมเราจึงบริหารจัดการ Radical innovation เป็นสิ่งที่องค์กรใหญ่ๆ เลือกมุ่งเข้าสู่ยุทธศาสตร์นี้

อย่างไรก็ตามโลกของการบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมีสัจธรรมที่กล่าวว่า “เสี่ยงมาก ผลตอบแทนมาก” Hi Risk Hi return เพราะการที่หากมีนวัตกรรมที่เป็น Radical Innovation เกิดขึ้นจะสามารถโกยลูกค้าในตลาดเดิม อพยพ (Migrate) มาตลาดใหม่ได้ทั้งหมดเลย เพราะหากมีทางเลือกสินค้าทดแทนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า (Substitution Goods) อาทิเช่น การอพยพของผู้บริโภคที่ใช้กล้องแบบฟิล์มไปใช้กล้องดิจิตอลทั่วโลก แน่นอนหากผู้นำตลาดกล้องฟิล์มไม่สามารถปรับตัวไปผลิต Radical อย่างกล้องดิจิตอลได้ เขาก็ไม่สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมกล้องถ่ายรูปได้อีกต่อไป ผู้ที่เลือกจะพัฒนา Radical อย่างกล้องดิจิตอลนอกจากเป็นผู้นำแล้วยังอาจครองตลาดได้ระยะยาวอีกด้วย

Henderson และ Clark ได้ศึกษานวัตกรรมประเภทต่างๆ พบว่าส่วนใหญ่แล้วนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความรู้มากมายจากหลายแหล่ง หลากหลายรูปแบบทั้งด้านเทคโนโลยีและการตลาด การจัดการนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้นเราต้องรู้จักที่จะจัดการความรู้ต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมในระดับองค์ประกอบ (component) และต้องคิดว่าจะรวมกันอย่างไรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง (Architecture)

แต่สิ่งที่ยากกว่านั้นคือจัดการความรู้ เพราะหากเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงในระดับองค์ประกอบแล้ว บุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านนั้นๆ จะสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับ System กล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมระดับโครงสร้าง (Architectural Innovation) เกิดขึ้น ความต้องการความรู้ต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้น อาจเกิดปัญหามีช่องว่างในการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ได้

ตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่การบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น นวัตกรรมเรื่องระบบบ้านอัตโนมัติ (Home automation Industry) ที่ต้องอาศัยหลายๆ เทคโนโลยีประกอบกัน ทั้ง คอมพิวเตอร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบกลไกอัตโนมัติ เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดระบบของบ้านยุคใหม่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งให้ความบันเทิงและมีการควบคุมอุปกรณ์ในบ้านแบบอัตโนมัติ จะเห็นได้ว่านอกจากมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ต้องมีความรู้ด้าน Mechatronics ความรู้ด้านไฟฟ้า เป็นต้น โดยธรรมชาติแล้วบุคคลหนึ่งจะเชี่ยวชาญเพียงเรื่องเดียวจึงต้องมีการบริหารความรู้ให้ร่วมมือกันได้

ในภาคการบริการก็เช่นกัน การเพิ่มขึ้นของช่องทางต่างๆ ในการให้บริการทางด้านการเงิน อาจนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมในเชิงองค์ประกอบ (Component level) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องต่างๆ น้อยกว่าการเปลี่ยนรูปแบบการบริการไปโดยสิ้นเชิง เช่น การก้าวกระโดดไปสู่การใช้ระบบสารสนเทศโดยตรงแทนการใช้พนักงานบริการ เช่นการใช้ตู้ เอทีเอ็มมา ทำหน้าที่ถอนเงิน ฝากเงิน โอนเงิน เป็นต้น (จะเห็นได้ว่าค่าบริการเก็บประชาชนเกินความจำเป็น)

จากรูปที่ 3 สามารถอธิบายได้ว่า

  • โซนที่ 1 Incremental innovation รูปแบบของการแข่งขันเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็น การปรับปรุงสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น โดยอาศัยความรู้ทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลัก (Core components)
  • โซนที่ 2 Modular innovation เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของผลิตภัณฑ์นวัตกรรม แต่โครงสร้างโดยรวมยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามา เช่น เปลี่ยนโทรศัพท์จากแบบหมุนเป็นแบบกดปุ่ม เปลี่ยนเฉพาะ Component โดยใช้กับ Architecture เดิมได้ ในโซนนี้มีความต้องการในการเรียนรู้ใหม่ๆ แต่ยังอยู่ภายใต้กรอบที่ชัดเจน เช่น การใช้วัตถุดิบชนิดใหม่ในการทำโครงสร้างของเครื่องบิน หรือการใช้ระบบข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์แทนการใช้กระดาษในงานธุรกรรมต่างๆ เป็นต้น
  • โซนที่ 3 Discontinuous Innovation เป็นช่วงที่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่เปลี่ยนสภาพไปโดยสิ้นเชิง แต่ ณ จุดนี้ยังไม่ใช่จุดสุดท้ายของการพัฒนาและก็ไม่ใช่จุดที่เรียกว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว การเกิดขึ้นของ Discontinuous innovation นี้จะเปลี่ยนรูปแบบของการแข่งขันอย่างสิ้นเชิงและเปิดโอกาสให้กับผู้สนใจเข้าแข่งขันรายใหม่ด้วย
  • โซนที่ 4 Architectural Innovation เป็นช่วงที่มีความท้าทายในการประยุกต์และรวบรวมความรู้ที่มีอยู่เดิมหรือเป็นการรวมระหว่างความรู้เดิมและความรู้ใหม่ นำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมภายใต้กรอบการดำเนินงานใหม่อีกครั้ง เช่น Low-cost airlines เป็นต้น

The Challenge of Discontinuous Innovation

ส่วนมากนวัตกรรมจะเกิดขึ้นภายใต้รูปแบบการแข่งขันอันใดอันหนึ่ง ที่ผู้เล่นแต่ละคนพยายามสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ทั้งด้านสินค้าหรือบริการ แต่บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นอาจเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันไปโดยสิ้นเชิง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการแข่งขัน เปิดโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ แต่ก็ยังคงท้าทายผู้เล่นแต่ละคนให้ปรับกรอบการทำงานให้ทันต่อสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป โดย Schumpeter เจ้าพ่อทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารนวัตกรรม ได้กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เรียกได้ว่าเป็น “creative destruction” เป็นการทำลายที่สร้างสรรค์

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่มาเป็นระยะเวลานานคือ การปรับปรุงสินค้าและบริการที่มีอยู่ให้ดีขึ้น นั่นคือ “ทำสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิม” เช่น ปากกา Bic ที่มีการออกสินค้าสู่ตลาดมาตั้งแต่ปี 1957 และยังคงยอดขายเป็นจำนวนมากจนทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าปากกาจะมีรูปร่างเหมือนเดิม แต่ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา (incremental change) ทั้งในด้านวัตถุดิบและน้ำหมึก

แต่เมื่อสถานะคงตัว (Steady state) ของนวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงไป จากการเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงที่เป็น discontinuities หรือการที่สภาวะต่างๆ เช่น เทคโนโลยี ตลาด สังคม หรือกฎระเบียบ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันอย่างสิ้นเชิง เปิดช่องทางการตลาดใหม่ๆ ให้เกิด ความจำเป็นที่ต้องทำอะไรให้แตกต่าง

ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรดังเช่น Michale E.porter มักกล่าว ถึง เช่น การแทนที่หลอดไฟฟ้าที่มีเส้นลวดภายในแบบดั้งเดิมที่คิดค้นโดย Edison และ Swan ด้วยหลอดไฟแสงสีขาวที่จดสิทธิบัตรโดย Nichia Chemical ซึ่งเทคโนโลยี emitting diode นี้สามารถประหยัดไฟได้มากกว่า 85 % และมีอายุการใช้งานนานกว่าถึง 16 เท่า และใช้งานได้แพร่หลายมากกว่า ถือเป็นการ Differentiate ด้วยนวัตกรรม Abernathy และ Utterback กูรูแห่งกูรูโลกบริหารธุรกิจ อธิบายรูปแบบการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมเป็น 3 ช่วง ดังนี้

  1. Fluid phase เป็นช่วงเริ่มต้นที่ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน เป็นช่วงที่มีการค้นคว้าและทดลองผลิตสินค้าใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่รู้ว่าทำไปแล้วลูกค้าจะต้องการหรือไม่ ตลาดจะยอมรับหรือเปล่า การวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในช่วงนี้ การทดลองในช่วงนี้ ได้เริ่มต้นทีละเล็กทีละน้อยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนกระทั่งถึงจุดที่เรียกว่า “Dominant Design” ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปเป็นร่างแล้วเป็นต้นแบบพร้อมออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการแข่งขัน เช่น การออกแบบหูฟังจากครอบศรีษะมาเป็นแบบใส่ในรูหู
  2. Transition phase เป็นช่วงที่เกิด Dominant design แล้วและได้มีการผลิตจำหน่ายออกสู่ตลาดแล้ว อาจเกิดการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนั้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น กิจกรรมต่างๆ จะเปลี่ยนจากการวิจัยและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ มาเป็นการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิม รวมถึงสร้างความแตกต่างของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น พยายามทำให้สินค้าราคาถูกลง แต่มีคุณภาพสูงขึ้นและมีการส่งมอบให้ถึงมือลูกค้าอย่างถูกต้อง แม่นยำ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า
  3. Specific phase เป็นช่วงที่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาและต่อยอดให้ดีขึ้นโดยเน้นที่ Incremental innovation เพื่อเพิ่มความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม รวมทั้งเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถลดต้นทุนได้มากที่สุด ในช่วงนี้จะแข่งขันกันในด้านราคาเป็นสำคัญ

References

1. Managing Innovation, Joe Tidd,
John Bessant, Keith Pavitt, Third Edition, John Willey & Son, Ltd.

2. Managing Creativity and
Innovation, Harvard Business Essentials, Harvard Business School Press, Boston
Massachusetts.